โรคไทรอยด์ค่อนข้างจะเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในโรคคอหอยพอก ตาโปน โดยจะพบโรคนี้ในผู้หญิงมากกว่าในผู้ชาย โครงสร้างของต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อ รูปร่างคล้ายปีกผีเสื้ออยู่ด้านหน้าของลำคอ กลีบซ้ายและกลีบขวา อยู่ด้านซ้ายและด้านขวาของลูกกระเดือก สามารถเคลื่อนไหวพร้อมๆ กับการกลืน สามารถมองเห็นและคลำได้จากภายนอก โดยเฉพาะเมื่อมีขนาดโตกว่าปกติหรือมีก้อนเนื้องอกเกิดขึ้น ฮอร์โมนที่ถูกสร้างขึ้นจากต่อมนี้เรียกว่า ฮอร์โมนไทรอยด์ โดยส่วนใหญ่ของฮอร์โมนประกอบด้วยแร่ธาตุไอโอดีนและโปรตีน ดังนั้น ปริมาณของฮอร์โมนจึงขึ้นอยู่กับปริมาณของเกลือแร่ไอโอดีนและปริมาณโปรตีนในร่างกาย ซึ่งมาจากการบริโภคประเภทของอาหารนั่นเอง
บทความ
เครื่องผลิตน้ำด่าง หรือน้ำดื่มอัลคาไลน์ คือ น้ำที่มีความเป็นด่างสูง ในระยะแรกๆ นั้น โรงพยาบาลในประเทศญี่ปุ่น ใช้น้ำด่างเพื่อการรักษาผู้ป่วยโรคกระเพาะและลำไส้ ซึ่งสภาพร่างกายในขณะนั้นจะมีสภาพความเป็นกรดค่อนข้างสูง โดยวิธีการรักษาของแพทย์ คือการควบคุมค่าความเป็นด่าง มาก-น้อย และปริมาณของน้ำ ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้ทำการรักษา จนร่างกายใด้รับการปรับให้อยู่ในสภาพที่สมดุล แพทย์จึงหยุดให้น้ำที่มีฤทธิ์เป็นด่างสูงกับผู้ป่วย แต่ในชีวิตประจำวันนั้น การบริโภคน้ำดื่มที่มีความเป็นด่างสูงติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้ความสามารถในการปรับสมดุลความเป็นกรด-ด่างในร่างกายถดถอย
โครงสร้างร่างกายมนุษย์จะมีผิวหนังห่อหุ้มร่ายกายเป็นหนึ่งในสิบระบบของร่างกายที่มีปริมาณพื้นที่มากที่สุด ผิวหนังห่อหุ้มร่างกายอยู่ภายนอกจึงมีโอกาสพบและสัมผัสสิ่งต่างๆ จากภายนอกร่างกายได้ง่ายและรับรู้ถึงความรู้สึกหนาว เย็น ร้อน เปียกชื้น ฯลฯ ของอากาศได้ รับรู้ถึงความสบายหรือไม่สบายจากเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มต่างๆ ได้ รับรู้ถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากภายนอกต่อร่างกาย เช่น อาการบาดเจ็บ ระบม ช้ำ ปวดแสบปวดร้อน หรือมีไข้ ผิวหนังจะแสดงอาการผิดปกติให้ทราบ จนถึงการเปลี่ยนแปลงผิวสี บวม แดงร้อน การอักเสบ พุพอง ผิวหนังจะเป็นด่านแรกที่จะต้องป้องกันอวัยวะภายในที่ห่อหุ้มอยู่
“ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผิวหนังจึงเป็นอวัยวะสำคัญที่ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อยู่เสมอ เพื่อเราจะได้มีสุขภาพผิวหนังที่แข็งแรงและมีผิวพรรณที่สวยงาม เนียนลื่น ไม่เหี่ยวย่น ไม่แตกลายหรือมีริ้วรอยต่างๆ ก่อนวัยอันควร ความผิดปกติของผิวกายที่มักพบเสมอ พอจะยกตัวอย่างมาประกอบพอสังเขปได้ดังนี้”
เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนนอกจากโรคหวัดแล้วโรคยอดฮิตของเด็กๆในช่วงนี้ที่สร้างความกังวลใจให้คุณพ่อคุณแม่อยู่ไม่น้อย คือ โรคมือเท้าปาก (Hand Foot Mouth Disease) ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) ทำให้มีตุ่มผื่นหรือแผลที่ผิวหนังบริเวณมือ เท้า หรือมีแผลภายในปาก ทำให้เด็กๆเจ็บปากจนรับประทานไม่ได้ นอกจากนี้อาจจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ไอ เจ็บคอ ไม่อยากอาหาร และอ่อนเพลีย ในประเทศไทยพบมากในช่วงฤดูฝน และพบบ่อยในกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี แต่สามารถเกิดกับเด็กโตและผู้ใหญ่ได้เช่นกัน ส่วนใหญ่โรคนี้สามารถหายได้เอง โดยมักจะมีอาการดีขึ้นและหายป่วยภายในเวลาประมาณ 7 - 10 วัน
การมีสุขภาพดีเป็นสิ่งพึงปรารถนาของทุกคน แต่การมีสุขภาพดีและหุ่นที่เพอร์เฟคเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนายิ่งกว่า ดังนั้นเราจึงควรหันมาดูแลและใส่ใจสุขภาพกันให้มากขึ้น โดยเริ่มต้นดูแลสุขภาพตนเองจากภายใน ด้วยการรับประทานอาหารหรือผักและผลไม้ที่ดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย เมื่อภายในร่างกายเราได้รับสิ่งที่ดีมีประโยชน์เข้าไปแล้ว ก็จะส่งผลทำให้ระบบภายในและส่วนต่างๆของร่างกายดีขึ้นตามไปด้วย สาวๆท่านใดต้องการดูแลสุขภาพควบคู่ไปกับการควบคุมน้ำหนัก เรามีคำแนะนำเกี่ยวกับผักและผลไม้ที่ดีมีประโยชน์ต่อภาระกิจนี้มาฝากกันค่ะ ซึ่งผักและผลไม้เหล่านี้สามารถหาทานได้ง่ายๆในช่วงหน้าร้อน มาทำความรู้จักกับสุดยอดผักและผลไม้เหล่านี้กันเถอะค่ะ
ฤดูร้อน (Summer) ในประเทศไทยเริ่มประมาณช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ – กลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งช่วงเวลานี้อากาศจะร้อนอบอ้าวมากๆ โดยเฉพาะในช่วงประมาณกลางเดือนเมษายน ในบางพื้นที่อุณหภูมิอาจสูงขึ้นมากกว่า 40 องศาและมีพายุฤดูร้อน (Summer Storm) ร่วมด้วย อากาศที่ร้อนมากๆสามารถทำให้เกิดโรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรค (Heat Stroke) ได้ กระทรวงสาธารณสุขได้ออกมาเตือนให้หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดช่วงเวลา 10.00 - 14.00 น. เนื่องจากแสงแดดในช่วงเวลาดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพเป็นอย่างยิ่ง รังสียูวี (UV) จากแสงแดดช่วงเวลา 10.00 - 14.00 น. มีความเข้มข้นสูงมากเป็นพิเศษ จนสามารถแผดเผาเซลล์ผิวหนังให้เสียหายและผิวอาจถูกทำลายได้ง่ายๆ ภัยจากแสงแดดที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและผิวพรรณมีดังนี้
ปีนี้ฤดูฝนในบ้านเรามาเร็วกว่าปกติ ด้วยสภาพอากาศที่แปรปรวน กลางวันแสงแดดแรงอากาศร้อนอบอ้าว กลางคืนมีฝนฟ้าคะนองกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เนื่องจากต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน เกิดอาการปวดหัว ตัวร้อน คัดจมูก มีเสมหะ ไอหรือจาม เจ็บคอ และเกิดโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆตามมา เช่น ไข้หวัดหรือโรคหวัด โรคระบบทางเดินหายใจ (หลอดลมอักเสบ) โรคปอดบวม รวมไปถึงโรคเยื่อบุตาอักเสบหรือโรคตาแดง ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำสกปรกกระเด็นเข้าตา โรคที่เกิดจากยุงกัด เช่น ไข้เลือดออก ไข้สมองอักเสบ โรคมาลาเรีย และโรคที่มากับน้ำท่วมขัง เช่น น้ำกัดเท้า ติดเชื้อราที่เท้า (ห้องกงฟุต) โรคฉี่หนู ฯลฯ ดังนั้นเพื่อให้ร่างกายสามารถปรับตัวและมีภูมิต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และเพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น เราควรหันมาดูแลใส่ใจสุขภาพของตนเองให้มากขึ้น ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำดีๆดังต่อไปนี้ค่ะ