ลดความเสี่ยง "โรคออฟฟิศซินโดรม"
อาการปวดศีรษะ ปวดตึงบริเวณบ่าหรือไหล่ มักพบได้บ่อยสำหรับผู้ที่ทำงานในออฟฟิศทั่วไป แต่หากอาการเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อย ๆ และมีแนวโน้มที่จะเป็นเรื้อรัง แก้ไม่หายสักที อาจนำเราไปสู่การเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมได้ และเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคดังกล่าว จาปินมีข้อมูลคำแนะนำดี ๆ เกี่ยวกับการเช็กอาการผิดปกติของร่างกายที่เกิดจากการทำงานหรือออฟฟิศซินโดรม และวิธีลดความเสี่ยงจากโรคนี้ โดย กับ นพ.ศิรวิชญ์ สุวิทยะศิริ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขากระดูกและข้อ อนุสาขาการผ่าตัดกระดูกสันหลัง รพ.จุฬาภรณ์ มาบอกเล่าให้ทราบกันค่ะ
เช็คอาการเสี่ยงโรคออฟฟิศซินโดรม
- มีอาการปวดต้นคอ หรือบ่า ไหล่
- มีอาการปวดหลัง ร้าวไปถึงบริเวณเอว
- มีอาการตาพร่ามัว
- มีอาการปวดศีรษะ เวลานั่งทำงานเป็นเวลานาน
หากมีอาการเหล่านี้ อาจสงสัยได้ว่ามีอาการของโรคออฟฟิศซินโดรมแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดมาจากการทำงานของเราเอง
สาเหตุการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม
- การใช้งาน หรือทำงานในท่าทางที่ผิด
- ใช้ท่าทางที่ผิดซ้ำ ๆ
- ใช้ท่าทางที่ผิดเป็นเวลานาน
วิธีลดเสี่ยงการเกิดออฟฟิศซินโดรม
- จัดการกับตัวเอง
- หากยังทำงานอยู่ ควรลุกเดินไปพัก ยืดเส้น ยืดกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอ บ่าไหล่ หลัง
- ไม่ควรนั่งทำงานในท่าเดิมติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรลุกไปหาสิ่งอื่นทำบ้าง เพื่อยืดเส้น และให้มีการเปลี่ยนท่าทางด้วย
- ปรับสภาพแวดล้อม
- โต๊ะ หรือที่นั่งทำงาน ควรมีการจัดให้ถูกสุขลักษณะที่ดี
- โต๊ะต้องอยู่ในระดับเดียวกับข้อศอก
- ควรใช้เก้าอี้ที่มีพนักพิง นั่งตัวตรง ไม่ควรนั่งโน้มตัวไปข้างหน้าในลักษณะคอยื่นออกไป
- จอคอมพิวเตอร์ควรอยู่ในระดับสายตา เพื่อที่จะไม่ต้องก้มหน้ามาก ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดตึงกล้ามเนื้อได้
- การใช้ iPad หรือหน้าจอโทรศัพท์มือถือ ควรลดลง เพราะเวลาใช้อุปกรณ์เหล่านี้จะต้องมีการก้มหน้าอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะทำให้มีอาการปวดตึงกล้ามเนื้อ หรือในอนาคตอาจมีเกี่ยวกับหมอนรองกระดูกได้
ดังนั้น อาการปวดศีรษะ ปวดตึงบริเวณบ่าหรือไหล่ สามารถลดหรือหายได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรมได้
สนับสนุนให้ทุกท่านมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและมีความสุขในการทำงาน โดยเครื่องผลิตน้ำดื่มอัจฉริยะรุ่นไอวอเตอร์ (iWater) และไอมินิ (iMini) ที่ให้คุณได้มากกว่าคำว่าน้ำดื่มที่สะอาด เพราะน้ำดื่มไอวอเตอร์เป็นน้ำกลุ่มโมเลกุลเล็ก สะอาด ปราศจากเชื้อโรคและแบคทีเรีย คงไว้ซึ่งแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม และได้รับการรับรองมาตรฐานทั้งระบบจากองค์กรอนามัยแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา (NSF) อย่าลืม!! ดื่มน้ำสะอาดให้ได้ตามปริมาณที่ร่างกายต้องการวันละ 6-8 แก้ว (1.5-2 ลิตร) จะช่วยให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ติดตามบทความใหม่ ๆ ได้ที่ https://www.japin.co.th
เรียบเรียงโดย : bibomom
ที่มา
รายการ คนสู้โรค THAI PBS 3